Tuesday, December 29, 2009

ผู้ชาย: สิ่งแรกที่ต้องทำหลังตื่นนอนคือดื่มกาแฟ

ผู้ชาย: สิ่งแรกที่ต้องทำหลังตื่นนอนคือดื่มกาแฟ

กาแฟ วันละถ้วย ถือเป็นอาวุธสำคัญในการป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก ซึ่งพบว่าแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้ราว 10,000 ราย จาก 35,000 ราย

จาก การศึกษาของมหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า ผู้ที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ มีอัตราความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งน้อยกว่าผู้ที่ไม่ดื่มร้อยละ 60

เหล่านี้คือคำถามที่ผู้บริโภคหลายคนสงสัย และอาจคลายความสงสัยให้กับคุณได้เช่นกัน

ถาม: กาแฟสามารถป้องกันโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้จริงหรือ
ตอบ: จากการศึกษาของระเทศสหรัฐอเมริกามากว่า 20 ปี พบว่าผู้ ดื่มกาแฟเป็นประจำมีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งน้อยกว่าผู้ที่ไม่ดื่ม แต่ก็ยังไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับการทำปฏิกิริยาที่ชัดเจนของคาเฟอี นในกาแฟกับมะเร็ง แต่ตัวเลขจากการสำรวจก็พบว่ามีปริมาณไม่มากพอที่จะทำให้ปักใจเชื่อ ดังนั้น จึงต้องการการศึกษาวิจัยมากขึ้นสำหรับการยืนยันคำตอบนี้

ถาม: ควรจะดื่มกาแฟมากขึ้นจากที่ดื่มอยู่ปัจจุบันหรือไม่
ตอบ: การเพิ่มปริมาณการดื่มไม่เป็นเรื่องที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ เพราะผลข้างเคียงจากคาเฟอีนก็มีบ้างอยู่เช่นกัน

ถาม: ได้ยินว่า แอลกอฮอล์ก็สามารถป้องกันโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้ จริงหรือไม่
ตอบ: ไม่จริง แต่นักวิทยาศาสตร์พบว่าการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เหมาะสมช่วยลดการพัฒนาของเซลล์ benign prostatic hyperplasia (BPH) ที่เป็นสาเหตุของปัญหาการไหลเวียนของปัสสาวะ ที่ทำให้ต่อมลูกหมากขยายใหญ่ขึ้น

ถาม: วิตามินสามารถช่วยป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากได้หรือไม่
ตอบ: ผู้เชี่ยวชาญใช้วิตามินอี ซี และแร่ธาตุเซเรเนียม ในการวิจัยรักษากลุ่มผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก ซึ่งวิตามินดังกล่าวมีผลค่อนข้างน้อยที่จะช่วยได้

ถาม: พฤติกรรมการรับประทานอาหารส่งผลต่อการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่
ตอบ: ใช่ การบริโภคอาหารของชาวตะวันตกนั้น มักจะเต็มไปด้วยกรดไขมันอิ่มตัวจากเนื้อสัตว์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้ชาวตะวันตกป่วยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากมากกว่าชาวตะวัน ออก ยกตัวอย่างเช่น ชายชาวญี่ปุ่นที่เป็นลูกบุญธรรมของชาวตะวันตก มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก การลดอัตราการบริโภคไขมันจากสัตว์จะทำให้ลดโอกาสที่จะป่วยเป็นโรคนี้

ถาม: ไลโคปีนคืออะไร และเกี่ยวข้องกับมะเร็งต่อมลูกหมากอย่างไร
ตอบ: ไลโคปีน ( Lycopene) พบมากในอาหารที่มีสีแดง ชมพู โดยเฉพาะในมะเขือเทศ องุ่นแดง แตงโม และมะละกอ และกระบวนการทำอาหารบางอย่าง เช่น ซุปมะเขือเทศ จะมีปริมาณไลโคปีนสูง ซึ่งอาจเป็นเพราะกระบวนการปรุงเหล่านี้ทำให้มีปริมาณไลโคปีนมากยิ่งขึ้น ผู้ชายที่บริโภคอาหารที่เต็มไปด้วยไลโคปีนนั้นอย่างน้อยสองส่วนต่ออาหารทั้ง หมดของแต่ละสัปดาห์ จะช่วยลดโอกาสการป่วยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากได้ประมาณ 30%

แปลจาก: MailOnline

: กาย
: บทความ
: สุขภาพดี
จริญญา 18 ธ.ค. 2552 19 ธ.ค. 2552

Saturday, December 12, 2009

ขอความเห็นสมาชิก กินยามาก เป็นโรคไตจริงหรือ ? (ฉบับเบาหวาน)

ขอความเห็นสมาชิก กินยามาก เป็นโรคไตจริงหรือ ? (ฉบับเบาหวาน)

ความเชื่อ ความเห็น ข้อเท็จจริง ต้องแยกให้ออก

คนไข้เบาหวานหลายคน ไม่ค่อยยอม

กินยา เพราะกลัว

กินยามาก แล้วไตวาย


คนไข้เบาหวาน กินยาเบาหวาน ตามแพทย์สั่ง


ทำให้ไตวายเพิ่ม ขึ้น จริงหรือ ?


ถ้าเป็น เบาหวาน แล้ว ไม่กินยา หรือ ลดยา จะเป็นอะไรไหม ลองคิดดูครับ


เดี๋ยว มาเล่าต่อครับ ....

การเป็นโรคเบาหวาน

มักมี ความดันโลหิตสูง ไขมันสูง มาแทรกซ้อน

หลายคน ความดันสูงมาก ต้องกินยาเพิ่ม

หลายคน เบาหวาน ขึ้นสูง ต้องกินยาเพิ่ม

บางคนเป็นไตวาย ต้องกินยาเพิ่ม อีกหลายชนิด

การอธิบาย ความ สัมพันธ์ เรื่องยา ไตวาย เบาหวาน ความดันโลหิต

อายุ เพศ ใช้ สมการคณิตศาสตร์ ตามหลักความน่าจะเป็น มาอธิบาย

ว่า ไตวาย เกิดจากกินยามากใช่ไหม

ใช้สถิติ และ ตัวเลขมาอธิบาย ไม่ใช้ ความรู้สึก พบว่า

กินยาหลายตัว กินยามาก ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ไม่ทำให้ไตวาย

แต่ ความดันสูง น้ำตาลสูง ทำให้ไตวายครับ

หมวดหมู่: การแพทย์ สุขภาพ สุขภาวะ
สัญญาอนุญาต: ซีซี: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน Cc-by-nc-sa
สร้าง: ส. 12 ธ.ค. 2552 @ 09:19 แก้ไข: ส. 12 ธ.ค. 2552 @ 17:36

ความเห็น

1.
P
ครูอ้อย แซ่เฮ
เมื่อ ส. 12 ธ.ค. 2552 @ 14:10
#1729616 [ ลบ ]

มารออ่านต่อไปค่ะ ดีจัง ระยะนี้ กินยาเยอะด้วยค่ะ

2.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ ส. 12 ธ.ค. 2552 @ 17:38
#1730051 [ ลบ ]

ส่วนการกินยาแก้ปวดมาก ๆ

การกินยาพร่ำเพรื่อ เกินความจำเป็น

อาจทำให้ไตวายได้ครับ

3.
P
วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--
เมื่อ ส. 12 ธ.ค. 2552 @ 17:41
#1730059 [ ลบ ]

สวัสดีครับท่านศุภรักษ์ เภสัชพันธ์หายาก

น้อมคราระวะครับท่าน

คนงานเปลได้ความรู้จากบันนี้ไปคุยให้คนไข้ฟังหลายเรื่องแล้วครับ

ง่ายๆชัดเจน ตรงประเด็น แบบบ้านๆ ที่ชื่นชอบครับ

4.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ ส. 12 ธ.ค. 2552 @ 17:51
#1730076 [ ลบ ]

จากกิจกรรม ขอท่าน

.

P

วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--

ขอยกย่อง สถาปนา ท่านเป็น สุดยอดเวรเปลเช่นกันครับ

ที่สำคัญ คือ ความทุ่มเทของท่าน ในการทำงานครับ

เภสัชกรแกะดำ ขอคาราวะ

5.
P
กานดา น้ำมันมะพร้าว
เมื่อ ส. 12 ธ.ค. 2552 @ 18:02
#1730096 [ ลบ ]

สว้สดีค่ะ

เฉพาะผู้เป็นเบาหวานไช่ไหมค่ะที่ไตวายเพราะน้ำตาลและความดันสูง

แล้วผู้เป็นโรคอื่นเช่นความดันสูง กินยามากไม่นานก็จะเป็นโรคไต

ด้จริงไหมที่สาเหตุมาจากยา

คนเป็นเบาหวานที่ทราบมา ไตต้องระวังที่สุดกรณีที่ไตวายมากจากการกินยารักษาโรคอื่นหรือเปล่า ลักษณะเป็นการยาตีกัน ที่บางคนเรียก จริงไหมค่ะ

กรณีที่เขาป่วยโรคอื่นด้วยไม่ใช่เบาหวานอย่างเดียว เพราะมีผู้ใหญ่หลายท่านบอก ปัจจุบันนี้ ตายเพราะใบสั่งยา กันมาก กินยากันเป็นคอนโด หรือยาทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน จึงเสียชีวิตไม่ใช่ยา หรือผู้ป่วยไม่ได้ปฏิบัติตัวตามที่หมอบอกหรือเภสัชบอก กรณีอย่างนี้ เราจะช่วยผู้ป่วยยากใช่ไหม

ในความเห็น เห็นด้วย กับการกินยามากแล้วไตวาย

6.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ ส. 12 ธ.ค. 2552 @ 18:27
#1730128 [ ลบ ]

เรียนคุณ

P

กานดา น้ำมันมะพร้าว

และเพื่อนๆ ทุกคน

ปัญหาซับซ้อนมากครับ จากการ พบผู้ป่วยไตวาย

มีดังนี้ 1 ปวดมาก กินยาแก้ปวด มากๆ บ่อยๆ ไตวาย

2 กินยา มากมาย แต่ น้ำตาลไม่ลด ความดันไม่ลด ไตก็วาย เหมือนเดิม

3 คนไข้กินเค็ม มักไม่รู้ตัว บางคน นอนกอดขวดน้ำปลา ตาย จริงๆ ครับ

4 การใช้ธรรมชาติบำบัด สมุนไพร หากช่วย ลดความดัน ลด น้ำตาล ไตจะไม่วาย

ครับ

5 คนไข้ บางคนดื้อ ไม่ยอมกินยา ไปหาสมุนไพร มากินเอง น้ำตาลขึ้นสูงมากๆ ไต

เลยวายครับ

6 คนไข้่หลายคนโดนหลอก ไปซื้ออาหารเสริม ราคาแพง ทำให้ขาดการรักษา ไตเลยวาย

7 คนไข้โรคเกาต์ ไม่ได้รักษาไตก็วายครับ

8 ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง กินยามากหลายชนิด และคุมความดันให้ต่ำลงได้

ไม่เป็นโรคไตครับ

9 ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง กินยามากหลายชนิด และคุมความดัน
โลหิตไม่ได้ กินยามาก แต่ความดันก็สูง พวกนี้ไตวายแน่ครับ

10 ยาแผนปัจจุบัน หรือ สมุนไพร บางชนิด มีพิษต่อไต หลายคนกินแล้วไตวายครับ


Tuesday, December 8, 2009

สูตรกึ่งสำเร็จรักษาผู้ป่วยไตวายจากเบาหวาน

สูตรกึ่งสำเร็จรักษาผู้ป่วยไตวายจากเบาหวาน

คำถามสำคัญกว่า...คำตอบ

สูตรกึ่งสำเร็จรักษาผู้ป่วยไตวายจากเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และเกาต์

ภก.ศุภรักษ์ ศุภเอม[1]

จากการทำงานดูแลผู้ป่วยมานานกว่าสิบปี พบว่าผู้ป่วยมากมายต้องตายด้วยภาวะไตวายระยะสุดท้าย ผู้ป่วยในชนบทส่วนมาก จะใช้สิทธิบัตรทอง ซึ่งยังไม่ครอบคลุมเรื่องการฟอกไต ทำข้าพเจ้าได้มีโอกาส ไปดูใจ ผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายมากกว่า 50 ครั้งแล้ว ทำให้เมื่อสี่ปีที่แล้วเมื่อพ่อสหายสมบูรณ์ผู้ป่วยไตวายต้องตาย เพราะไตวายระยะสุดท้าย และพี่นาวินต้องตายเพราะไตวายทั้งที่อายุไม่ถึง 40 ปี ทำให้ข้าพเจ้าสาบานกับตนเองว่าล้างแค้นโรคไตวายให้จงได้ หากช่วยผู้ป่วยไตวายไม่ได้ จะไม่ขออยู่เป็นเภสัชกร จะขอลาออกจากราชการหากภายในปี 2553 ข้าพเจ้าไม่สามารถช่วยผู้ป่วยไตวายได้

เมื่อคิดได้ดังนั้นแล้ว ข้าพเจ้าก็ได้ถามกับตนเองว่า เราในฐานะเภสัชกร จะสามารถช่วยผู้ป่วยไตวายให้รอดชีวิตได้อย่างไร เมื่อคำถามชัดคมแล้ววิชาที่ได้ร่ำเรียนมาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงได้เกิดขึ้นวิชาแรกคือ การประเมินวรรณกรรม เมื่อคำถามชัดแล้วจึงได้เข้าสู่ การค้นหาคำตอบ ว่า มีเภสัชกรคนไหนในโลก ไหมที่ช่วยผู้ป่วยไตวายได้สำเร็จ โอ้ พระเจ้ายอร์ช... มีครับ มี เภสัชกร ทำสำเร็จแล้วที่ฮ่องกง งานวิจัยชิ้นนั้นมีชื่อเรื่องว่า Effects of structured care by a pharmacist-diabetes specialist team in patients with Type 2 diabetic nephropathy เป็นโครงการที่ทำร่วมกันระหว่างอายุรแพทย์กับเภสัชกร ที่ทำงานอยู่ภาควิขาเดียวกันในคณะแพทย์ของมหาวิทยาลัย (The Chinese University of Hong Kong)

สาระสำคัญมีอยู่ว่า โครงการนี้ ได้วางระบบการจัดการผู้ป่วย(disease management program) เบาหวานที่มีภาวะไตวายขึ้นมาใหม่โดยมีเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมอยู่ในทีม ผู้ป่วยด้วย โดยในระบบการจัดการผู้ป่วยใหม่นั้นจะเน้นการทำงานดังนี้

  1. ทุก 3 ถึง 4 เดือน คนไข้ต้องได้พบกับผู้เชี่ยวชาญด้านเบาหวาน

  2. ระหว่างการนัดผู้ป่วยมาโรงพยาบาล ช่วงกลางคนไข้ต้องมาพบเภสัชกรตลอด 2 ปี

  3. มีการติดตามผลการตรวจคนไข้ในเรื่อง ความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด(A1C) การทำงานของไต ระดับไขมัน LDL ระดับโปรแตสเซียมในร่างกาย

  4. คุมระดับ ความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด ระดับไขมัน LDL ระดับโปรแตสเซี่ยม และระดับการทำงานของไตให้ได้ตามเกณฑ์

  5. ใช้ยากลุ่ม angiotensin-converting enzyme inhibitor หรือ angiotensin II antagonist ในผู้ป่วยทุกรายที่ไม่มีข้อห้ามใช้

  6. เภสัชกร มีหน้าที่ ส่งเสริมความร่วมมือในการใช้ยาผู้ป่วย

  7. เภสัชกร ต้องให้คำแนะนำใน การปรับเปลี่ยนลีลาชีวิตผู้ป่วย

  8. เภสัชกร มีหน้าที่แนะนำขนาดยา ที่เหมาะสม และเฝ้าระวังภาวะโปรแตสเซี่ยมในเลือดสูง

จากการทำงาน 2 ปี งานวิจัย นี้แสดงให้เห็นว่า ความเสี่ยงในการเสียชีวิตของผู้ป่วยลดลงร้อยละ 71.4 ส่วนความเสี่ยงในเกิดไตวายระยะสุดท้ายลดลงร้อยละ 41.5 สมัย ก่อนผมเองไม่เคยคิดเลยว่า จะช่วยคนไข้ไตวายได้อย่างไรก็เราเป็นแค่ คนจ่ายยา เป็นแค่เภสัชกร จะไปเดิน Round ward กับแพทย์ ไปแนะนำ ให้หมอสั่งยาตามเภสัชกร แนะนำคงเป็นไปได้ยาก เมื่อได้อ่านงานวิจัยแล้ว ผมก็เริ่มคิด คิดแบบลึกๆ คิดนานๆ ผมจึงได้ข้อสรุปว่า ผมต้องออกจากกรงไปดูคนไข้จริงๆ ถึงบ้าน ถึงแม้ว่าผมจะไปเยี่ยมคนไข้ไตวายอยู่บ่อยๆ แต่ก็เป็นเพียงการดูแลแบบฉาบฉวยเท่านั้น ไม่ได้ลึกซึ้งอะไร

จากการดูแลผู้ป่วยไตวาย แบบบุกถึงบ้าน ตามไปดูแบบถึงลูกถึงคน (ไม่ได้ตังค์ 555 เพราะเบิกโอทียาก ไม่มีเวลาไปเขียนเบิก รายงานมากมาย)นานกว่า 4 เดือน ในผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นไตวาย 7 เคส ทำให้ผมเข้าใจอะไรต่างๆ ในมุมมองของผู้ป่วยมากมายเลยครับ

โปรดติดตามตอนต่อไป .... ครับ

จากการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยไตวาย 7 รายพบว่า คนไข้มีปัญหาดังนี้

  1. คนไข้ 1 ราย ไม่ถูก diagnosis ว่าเป็น CRFทั้งๆ ที่ ใช่ ทำให้ขาดการรักษา

  2. คนไข้ 2 ราย ขาดการรักษาต่อเนื่อง 1 ราย ไม่สนใจมา รักษา

  3. คนไข้ 1 ราย ไม่รู้ว่าตนเองเป็นไตวาย

  4. คนไข้ 3 ราย ชอบกินอาหารเค็ม

  5. คนไข้ 2 รายได้รับยาที่มีข้อห้ามใช้เสมอ ๆยากลุ่ม NSAIDS

  6. คนไข้ 1 ราย อยู่คนเดียวขาดคนดูแล

ปล.ต้องยกความดีความชอบให้คนต้นคิด ซึ่งก็คือเภสัชกร Wilson Y.S. Leung, BPharm, PhD, Department of Medicine and Therapeutics, The Chinese University of Hong Kong, The Prince of Wales Hospital, Shatin, N.T., Hong Kong.


[1] เป็น เภสัชกรที่ทำงานโรงพยาบาลชุมชนมานานกว่า 14 ปี frxbaby@gmail.com

หมวดหมู่: การบริหารจัดการ การจัดการความรู้
สัญญาอนุญาต: ซีซี: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน Cc-by-nc-sa
สร้าง: ส. 28 พ.ย. 2552 @ 08:31 แก้ไข: พ. 02 ธ.ค. 2552 @ 22:44

ความเห็น

1.
P
นู๋ฏวง
เมื่อ ส. 28 พ.ย. 2552 @ 08:39
#1701598 [ ลบ ]

*-* สวัสดีค่ะ พี่เอก(ขอเรียกพี่ล่ะกัน)

ขอบคุณสำหรับเรื่องดีๆที่นำมาฝากค่ะ

2.
P
นาง...มณีวรรณ
เมื่อ ส. 28 พ.ย. 2552 @ 09:01
#1701650 [ ลบ ]

ถ้าได้มีคนเห็นความสำคัญในการดูแลเชิงป้องกันก่อนจะไปถึงไตวายระยะสุดท้าย

และร่วมมือกันอย่างจริงจัง ญาติพี่น้องประชาชนก็คงจะไม่ต้องมาล้างไตมากขนาดนี้

ขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมนะคะ ปัจจุบันผู้ป่วยสิทธิบัตรทองก็สามารถเข้าถึงบริการได้แล้วนะคะ

โดยเน้นที่การล้างไตทางช่องท้องเป็นหลักค่ะ

3.
P
nussa-udon
เมื่อ ส. 28 พ.ย. 2552 @ 10:23
#1701838 [ ลบ ]

สวัสดีค่ะคุณศุภรักษ์ ศุภเอม P

  • เยี่ยมมากๆเลยค่ะ..เยี่ยมถึงบ้านเราจะเห็นสิ่งแวดล้อมรอบตัวเห็นความเป็นจริงและการดูแลตนเองของเขาด้วย...
  • เป็นบุญของคนไข้ที่มีเภสัชกรที่ดีใกล้บ้านใกล้ใจค่ะ.....
4.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ ส. 28 พ.ย. 2552 @ 14:29
#1702199 [ ลบ ]

ขอบคุณ

P

นู๋ฏวง

ที่ให้กำลังใจเสมอมาครับ

5.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ ส. 28 พ.ย. 2552 @ 14:32
#1702203 [ ลบ ]

เรียนคุณ

P

นาง...มณีวรรณ

การป้องกันไตวายระยะสุดท้ายจำเป็น ครับ

ทาง สปสช.น่าจะมีนโยบาย ดูแลคนไข้ก่อนเกิดไตวาย

ระยะสุดท้าย ขอบคุณครับ

6.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ อ. 01 ธ.ค. 2552 @ 15:40
#1708424 [ ลบ ]

ไตวาย ช่วยได้ ถ้า จนท.ออกไปช่วยครับ โดยไป

1 ดูไม่ให้ขาดยา

2 ลดอาหารเค็ม

3 ช่วยคุม BP กับ DTXระดับน้ำตาล

แค่นี้ คนไข้ก็ดีขึ้นแล้วครับ

7.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ พ. 02 ธ.ค. 2552 @ 22:45
#1711543 [ ลบ ]

สวัสดีและขอบคุณ

P

nussa-udon

มากที่สุดครับ

Monday, December 7, 2009

ช่วยผมที ...ดูแลคนไข้ NS+DM ไม่หมูอย่างที่คิด

ช่วยผมที ...ดูแลคนไข้ NS+DM ไม่หมูอย่างที่คิด

ต้องสู้ ...เพื่ออะไรบางสิ่ง

การดูแลคนไข้NS ไม่หมูอย่างที่คิด

นายสด คนไข้ผู้อาภัพ

ช่วยผมที ...ดูแลคนไข้ NS+DM ไม่หมูอย่างที่คิด

ภก.ศุภรักษ์ ศุภเอม1

ผมเองได้มีโอกาส พบเจอคนไข้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาก อยู่หลายครั้งพบว่าคนไข้ ที่เป็นโรค Nephrotic syndrome บางรายจะมีอาการรุนแรงโดยเฉพาะคนไข้เบาหวาน มักจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากเสมอ หากมีภาวะ Nephrotic syndrome คนไข้รายหลายจะมีภาวะไตวายร่วมด้วย โดยคนไข้โรคนี้ ส่วนมากจะมีอาการบวมน้ำ บวมหน้า บวมเท้าอยู่เสมอ

นอกจากนี้ คนไข้ ยังมีการทำงานของไตที่เสื่อมลงอย่างรวดเร็ว หลายรายมีภาวะไตวายเรื้อรัง ทำให้จำเป็นต้องจำกัดน้ำ และเกลือโซเดียมมิฉะนั้น อาจทำให้คนไข้มีภาวะบวมน้ำได้นั่นเอง นอกจากนี้ คนไข้ยังมีภาวะความดันโลหิตสูงอีกด้วย รวมทั้งอาจจะมี โปรตีนรั่วในปัสสาวะ ปกติผู้ป่วย ภาวะ Nephrotic syndrome แพทย์มักจะสั่งยา prednisolone ในขนาดสูง หลายครั้งจำเป็น ต้องเพิ่มขนาดอินซูลิน เนื่องจากเกิดภาวะ hyperglycemia

นายสด คนไข้เบาหวาน ไตวาย และ Nephrotic syndrome ดูจากประวัติแล้วมี Cr=3.36 และ มีความดันค่อนข้างสูง คือ SBP=160-170 mmHg นอกจากนี้ ยังมีปัญหา Severe hyperglycemia มี FBS ประมาณ 300-500 mg/dLแพทย์ส่งตัวไปที่ โรงพยาบาลขอนแก่น ผมเลยคิดว่า คนไข้รายนี้ เป็น high risk patient นายสด อยู่บ้านโนนอินทร์แปลง เมื่อผมได้ไปตามหาแกอยู่ที่บ้าน ก็พบว่าคนไข้ ยาจากโรงพยาบาลขอนแก่น มามากมายไม่ว่าจะเป็น ยารักษาหัวใจล้มเหลว ยารักษาไวรัสตับอักเสบ ยารักษาภาวะไตเสื่อม ยาเบาหวาน แต่แปลกที่นายสด ไม่ได้ยา prednisolone เพื่อรักษา Nephrotic syndrome และได้แต่ยาลดความดันโลหิตที่ออกฤทธิสั้น

จากการประเมินผู้ป่วยผมพบว่า คนไข้หน้าบวม ตีนบวมชัดเจน ยาขับปัสสาวะที่เคยได้ก็ไม่ได้ ผมจึงไม่แน่ใจว่าโรงพยาบาลขอนแก่นจะรู้ว่าคนไข้เป็น Nephrotic syndrome หรือไม่ เพราะให้ยาเหมือนๆ กับคนไข้เป็น หัวใจล้มเหลว วัดความดันโลหิตคนไข้พบว่า BP=220/110 PR=80 วัดซ้ำก็ได้เหมือนเดิม ส่วน DTX=102 mg/dL ผมจึงบอกให้คนไข้ไปนอนโรงพยาบาลทันที คนไข้บอกว่า ไปไม่ได้ เพราะไม่มีใครอยู่กับหลานสองคน ผมมองดูก็ว่าน่าจะจริง ถ้าเป็นผมก็คงห่วงหลานไม่กล้าทิ้งหลานไว้ที่บ้านตามลำพังเช่นกันครับ

ผมจึงได้จัดยาของพ่อสด เป็นแบบยา DOT รวมทั้งเอายาของ รพ.อุบลรัตน์ ที่ใช้กับแกมาจัดเข้าชุดกัน กับยาโรงพยาบาลขอนแก่นแบ่งเป็น ยา 4 มื้อ หลังจากนั้นทุกวัน ผมต้องมาตามดูแกทุกวัน พอเข้าวันที่ 4 ความดันโลหิตของพ่อสดก็ลดเหลือ BP=150/84 PR=77 ซึ่งเป็นค่าที่ผมพอใจ แต่อย่างไรก็ตาม พ่อสดก็ยังมีอาการบวมอยู่นั่นเอง ต่อมาเมื่อยาหมดพ่อสดจึงไปโรงพยาบาล แพทย์ให้นอนโรงพยาบาลเพื่อติดตามอาการเราพบว่า Cr=6.51 mg/dL ไปเสียแล้วครับ โอไตพังลงไปอีก ผมจะทำไงดีเนี่ย...

ใครก็ได้ช่วยผมที โปรดติดตามตอนต่อไป...

1เป็นเภสัชกร รพ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น ทำงานมานานกว่า 14 ตั้งแต่ปี 2538 โน่นเลยครับ frxbaby@gmail.com

หมวดหมู่: การศึกษา การเรียนการสอน
สัญญาอนุญาต: ซีซี: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน Cc-by-nc-sa
สร้าง: ศ. 27 พ.ย. 2552 @ 12:50 แก้ไข: ส. 28 พ.ย. 2552 @ 14:41

ความเห็น

1.
P
ขจิต ฝอยทอง
เมื่อ ศ. 27 พ.ย. 2552 @ 12:59
#1699943 [ ลบ ]
  • งานๆม่ง่ายเลยนะครับ
  • รอผู้รู้มาบอกดีกว่า
  • เผื่อจะได้เรียนรู้ด้วย
  • ได้รับเมล์หรือยังครับ
2.
P
JJ
เมื่อ ศ. 27 พ.ย. 2552 @ 13:04
#1699950 [ ลบ ]

ตามมาเรียนรู้ครับ

3.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ ศ. 27 พ.ย. 2552 @ 17:16
#1700444 [ ลบ ]

ขอบคุณ ท่าน

P

JJ ที่มาหใ้กำลังใจเสมอครับ

4.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ ศ. 27 พ.ย. 2552 @ 17:17
#1700447 [ ลบ ]

อาจารย์

P

ขจิต ฝอยทอง ผมไม่ได้เมลล์ครับ

5.
P
โรจน์
เมื่อ ส. 28 พ.ย. 2552 @ 09:03
#1701658 [ ลบ ]

สวัสดีครับพี่สุภรักษ์....พี่มีชื่อเล่นไหม (พี่เอก?) ผมอ่าน case นี้แล้วถ้าเป็นผม....จะ review ว่า

1.ตอนนี้เป็น active renal failure ที่ Rx แล้วหายหรือไม่ ...เพราะถ้ากลายเป็น chronic ไปแล้วเราคงหมดหวัง จริง ๆ ถ้า cause คือ NS แล้วไม่ response ต่อ pred ใน 6 เดือน ต้องดูว่าจากอะไร ...connective tissue disease หรือเปล่า อันนี้ผมว่าปรึษา ผอ.ด่วนครับ......ถ้าผมเป็นหมอที่นั่น ผมจะโทรไปคุยกับ nephrologist เพื่อขอ second opinion....ในบางรายได้ ได้ pulse methyl pred หรือ cyclophosphamide ตอบสนองดี (ไม่ทราบว่าอุบลรัตน์มีหมอ med เขาน่าจะช่วยได้)

2. มุมเรื่องการดูแลหลาน...ลองคุยกับลูกๆ นิดนึง่วา ถ้ารู้เหตุผลข้อแรกที่ผมให้ดีพอ ที่จะทำให้เปลี่ยนการตัดสินใจไหม...ให้ autonomy กับครอบครัว

3.อันนีเกินบทบาทเภสัช แต่ ไม่เกินบทบาทเพื่อนมนุษย์....ถ้าคนคนนี้เปรียบเสมือนเป็นญาติเรา

ให้กำลังใจครับ....ถ้าให้ดีใช้ทีมให้ประโยชน์

6.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ ส. 28 พ.ย. 2552 @ 14:50
#1702221 [ ลบ ]

ไตวายแย่ลงอาจเกิดจาก

  1. รพ.ขอนแก่น off ยา prednisolone นานเป็นเดือน ทำให้ตีนบวมชัดเจน
  2. ความดันตัวบนสูง คุมไม่ได้ เกิน 180 มม.ปรอท
  3. คนไข้แบบนี้ ที่อุบลรัตน์ ตายไป 2 รายแล้ว ปี 51
  4. คนไข้คนนี้ ตอบสนองต่อยา prednisolone หรือไม่
  5. คนไข้ไม่อยากไป รพ.ขอนแก่น เนื่องจากเปลืองเงิน และไม่พอใจบริการ
  6. ปกติ พอใช้ prednisolobe FBS มักสูงเกิน 300 ตลอด
7.
P
โรจน์
เมื่อ ส. 28 พ.ย. 2552 @ 16:15
#1702457 [ ลบ ]

case นี้เป็น case ยาก เพระติดล๊อคทั้งเชิงวิชาการและ psychosocial

รู้สึกว่าตอนนี้อยู่ รพ. ใช่ไหมพี่...เห็นว่า BP เริ่มไม่สูงมาก

ดู แล้วที่เร่งด่วนที่มาด้วยกันคือ ARF ถ้าเป็นอย่างนั้นจริง อาจต้อง dialysis ก่อนถ้า rising Cr หรือมีข้อบ่งชี้อื่น เช่น hyperkalemia

โดย ธรรมชาติ DM ใน CRF มักคุมไม่ยาก เพราะ insulin ที่ถูกทำลายที่ไต น้อยลง ถ้าไม่มีปัจจัยเรื่องยามาเกี่ยว แต่รายนี้น่าจะเป็น steroid induced hyperglycemia ฉีด RI เป็น dose ๆ ไป

8.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ ส. 28 พ.ย. 2552 @ 21:04
#1703109 [ ลบ ]

วันนี้ คนไข้ hypoglycemia DTX=17 mg/dL

ผมเจอคนไข้ก็ทุ่มกว่าแล้ว คนไข้อยู่กับหลาน ภรรยาไปเกี่ยวข้าว

เห็นว่า ไม่ค่อยได้กินอะไรทั้งวัน เบื่ออาหาร เมื่อคืน DTX=336 mg/dL อยู่เลย

ไม่รู้ตัว แต่ BP 120/80 PR=88 สุดท้าย หมอ refer ใส่ tube ไม่รู้รอดไหม ทำใจครับ

9.
P
โรจน์
เมื่อ ส. 28 พ.ย. 2552 @ 23:29
#1703464 [ ลบ ]

ทำดีที่สุดแล้วครับ

10.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ อา. 29 พ.ย. 2552 @ 08:23
#1703708 [ ลบ ]

คุณหมอโรจน์ เมลล์หาผมเลยครับ ที่ frxbaby@gmail.com

อ้อนายสด ไม่โคม่าแล้ว ออกจาก ICU แล้ว

แต่อาการยังน่าห่วงครับ

11.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ อ. 01 ธ.ค. 2552 @ 21:14
#1709155 [ ลบ ]

พบว่า เมื่อทบทวน

CPG of NS

การรักษา การดูแลผมพลาดไปหลายจุดครับ